การบำบัดน้ำเสีย

research-for-industrial-biotechnology-supported สวัสดีครับท่านผู้อ่านทุกท่าน กลับมาพบกับผม Dr.UBA กันอีกครั้งนะครับ หลังจากเมื่อครั้งที่แล้ว เราได้นำเสนอบทความเกี่ยวกับ แนวโน้มของการบำบัดน้ำเสียในปี 2556 ไปแล้ว วันนี้ เราจะขอพูดถึงเรื่องของการนำ ระบบเทคโนโลยีชีวภาพ มาใช้ใน การบำบัดน้ำเสีย กันนะครับ ในปัจจุบัน เทคโนโลยีชีวภาพ ได้ถูกใช้อย่างมากขึ้น ในฐานะ เทคโนโลยีที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (Environmentally Sound Technology (EST)) ในหลากหลายการใช้งานที่เกี่ยวข้องกับ การกำจัดมลภาวะและปัญหาสิ่งแวดล้อมต่างๆ มากมาย การใช้งานแบบใหม่ๆนั้นรวมถึงส่วนที่เกี่ยวข้องกับการบำบัดน้ำ การบำบัดขยะ (รวมไปถึงพลาสติกที่ย่อยสลายได้) การทำเหมืองชีวภาพ, การเกษตร (การสร้างพืชพันธ์ที่สามารถทนต่อสภาวะอากาศที่เลวร้ายที่สุดได้) istock_000018316374xxxlarge_702x468 ปัจจุบันเหตุผลหลักในการใช้งานเทคโนโลยีชีวภาพคือการทำความสะอาดหรือบำบัดมลภาวะต่างๆ หนึ่งในการใช้งานอย่างแรกๆนั้นก็คือ การทำความสะอาดหรือบำบัดน้ำเสีย ตามมาด้วยการทำความสะอาดอากาศหรือก๊าซต่างๆ เทคโนโลยีชีวภาพจึงได้เป็นส่วนสำคัญส่วนหลักสำหรับการบำบัดน้ำเสีย เนื่องจากการบำบัดทางชีวภาพสามารถรับมือกับน้ำเสียได้อย่างหลากหลายอย่างมี ประสิทธิภาพมากกว่าการบำบัดน้ำด้วยเคมี หรือ ทางกายภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเหมาะสมกับการบำบัดน้ำเสียที่ประกอบด้วยสารประกอบอินทรีย์ ทั่วไป ในความเป็นจริงแล้วเทคโนโลยีชีวภาพนี้ได้ถูกใช้ครั้งแรกในการบำบัดน้ำเสีย มากกว่า 100 ปีก่อน ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา กระบวนการบำบัดแบบใช้อากาศและไร้อากาศก็ได้ถูกพัฒนามาเรื่อยๆ การบำบัดแบบใช้อากาศได้กลายเป็นเทคโนโลยีตั้งต้นสำหรับการบำบัดของเสียที่ บำบัดได้ง่ายถึงปานกลาง และสำหรับสารพิษและสารที่บำบัดได้ยากอีกด้วย กระบวนการแบบไร้อากาศเป็นกระบวนการที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดในการบำบัดของ เสียที่มีสารอินทรีย์ประกอบในอัตราที่สูง เช่น น้ำเสียจากกระบวนการผลิตอาหาร, ตะกอนน้ำเสียชุมชน หรือ ของเสียจากกระบวนการเลี้ยงสัตว์ ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา กระบวนการบำบัดแบบไร้อากาศ ได้เข้ามาแทนที่ระบบใช้อากาศอย่างเพิ่มมากขึ้นในหลากหลายแนวทางการใช้งาน การบำบัดน้ำเสียด้วยระบบไร้อากาศนั้นง่ายกว่า ก๊าซที่ได้มีส่วนประกอบของก๊าซเผาไหม้ (ก๊าซมีเทน) มากกว่า และสามารถบำบัดได้ด้วยอัตราที่มากกว่า 80% ปัจจุบันเทคโนโลยีชีวภาพ ได้ถูกนำมาใช้ใน การกำจัดไนเตรท ฟอสเฟต สารโลหะหนัก สสารที่เป็นพิษกันอย่างแพร่หลาย istock_000018316374xxxlarge_702x468 ที่ผ่านมาจุดประสงค์หลักในการบำบัดน้ำ คือ การลดสารอินทรีย์เท่านั้น แต่ทุกวันนี้การบำบัดมลภาวะต่างๆจากอุตสาหกรรมได้กลายมาเป็นส่วนสำคัญหลัก ซึ่งจะนำไปสู่การพัฒนากระบวนการทางชีวภาพสำหรับการกำจัดมลภาวะที่เฉพาะ เจาะจงเหล่านี้ อย่างยั่งยืนสืบไป